การวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic Planning)
ผมกำลังจะมีโครงการใหม่ที่จะลองคิดขึ้นมาเป็นแผนงาน เลยขอแปะความรู้การวางแผนไว้ทบทวน เพื่อการทำงานจะได้เป็นไปตามลำดับ
การจะดำเนินการกิจกรรมใดๆก็ตาม เปรียบเสมือนการขับรถมุ่งไปที่ใดที่หนึ่ง ก่อนที่เราจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เราต้องตอบคำถามต่างๆในใจก่อนคือ ณ ปัจจุบันเราอยู่ที่ไหน ? จุดหมายปลายทางเราคือที่ใด ? เราจะใช้เส้นทางใดในการเดินทาง ? ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมใดๆก็ตามจะประสบความสำเร็จได้ก็จะต้องพบกับคำถามสามข้อเช่นเดียวกับการขับรถคือ
1. ตำแหน่งหรือสภาวะขององค์กรเราตอนนี้อยู่ตรงไหน?
2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร?
3. จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย?
คำถามทั้งสามข้อนำมาซึ่งกระบวนการที่เรียกว่าการวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategy Planning) ซึ่งจะเป็นคำตอบของคำถามทั้งสามข้อ
1. ตำแหน่งหรือสภาวะขององค์กรเราตอนนี้อยู่ตรงไหน?
เป็นคำถามที่ต้องการวิเคราะห์ถึงสภาวการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย คำถามข้อนี้จะช่วยให้วิเคราะห์ถึงความพร้อมก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการดำเนินการ ซึ่งคำตอบทั้งหมดสามารถหาได้โดยการวิเคราะห์SWOT
2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร?
เป้าหมายของการดำเนินการใดๆก็ตามจะต้องกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งสามารถทำได้โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์(vision) และพันธกิจ(mission)
3. จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย?
คำตอบของคำถามข้อนี้คือการกำหนด เป้าหมาย(goal),วัตถุประสงค์(objective),กลยุทธ์(strategy),ทรัพยากร(resources) และแผนงาน(planning)ให้ชัดเจน
การวางแผนกลยุทธ์ คืออะไร
การวางแผนกลยุทธ์นั้นมีวัตถุประสงค ์เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาว โดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหาร
องค์กรการวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถำไปปฏิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถนำไปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคต
องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธ์
วางแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. องค์ประกอบทางด้าน การบริหารจัดการ (Management Characteristic)
2. องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors)
ข้อดีข้อเสียของการวางแผนทางกลยุทธ์
Brian Boone ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการวางแผนกลยุทธ์เอาไว้ดังนี้
ข้อดี
1. กำหนดให้ทุกๆคนในองค์กรสามารถดำเนินหน้าที่ไปในจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีจุดหมายที่
2. แน่นอนชัดเจน
3. องค์กรจะมีภาพที่กว้างขึ้น มีแผนงานระยะยาวเพื่อดำเนินไปสู่ความเจริญก้าวหน้า การ
4. ตัดสินใจในนโยบายต่างๆ จะเชื่อมโยง และ สอดคล้องไปกับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้
5. องค์กรจะสามารถตั้งคุณสมบัติ และ แนวทางการทำงานที่ต้องการ ในการคัดเลือกบุคลากร
6. ในส่วนต่างๆ ที่เหมาะกับแผนงานที่วางเอาไว้
7. การจัดวางหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละแผนกมีความชัดเจน มีความเหมาะสมกับแผน
8. กลยุทธ์ขององค์กร และจะสามารถจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม ลดความสิ้นเปลืองใน
9. ส่วนที่ไม่ได้อยู่ในแผนกลยุทธ์ออกไปได้
10. วัฒนธรรมองค์กรจะถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องเหมาะสมกับการวางแผนกลยุทธ์ ทั้งวิธีคิด
11. แนวทางการทำงาน บรรยากาศในที่ทำงาน นโยบายการดำเนินงาน จะถูกสร้างขึ้นให้ไป
12. ในทิศทางเดียวกัน
ข้อเสีย
1. การตั้งแผนกลยุทธ์จะเป็นการวางแผนให้องค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่หาก
2. องค์กรใดมีงบประมาณที่จำกัดจะทำให้ยากต่อการดำเนินงานตามแผน เมื่อไม่สามารถ
3. ดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ได้ มีความยากลำบากในแต่ละขั้นตอน บุคลากรในองค์กร
4. ก็จะเสียความมั่นใจ และ ขาดความเชื่อมั่นในองค์กร
5. ในกรณีที่องค์กรมีเงินทุนมาก มีทรัพยากรที่พร้อมสรรพ และมีความต้องการที่จะดำ เนิน
6. แผนกลยุทธ์ให้ได้เต็มที่ จึงทำให้อาจเกิดความประมาทในการลงทุน เพราะเชื่อมั่นเป็น
7. อย่างมากว่าได้ดำเนินการตามแผนงานที่ตั้งเอาไว้อย่างดีเยี่ยมแล้ว
8. การกำหนดแผนกลยุทธ์ ในบางครั้งอาจสร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้น หรือ กลุ่มผู้
9. ถือประโยชน์ร่วม เพราะอาจมีเป้ าหมายไม่ตรงกัน เช่น กลุ่มผู้ถือหุ้นให้ความสำคัญกับ
10. ผลประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่า การวางเป้าหมายกลยุทธ์ที่วางแผนให้ เป็นองค์กรที่เป็น
11. ประโยชน์ต่อสาธารณะชน
ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategy Planning)
แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
จากแผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายและพันธกิจ เป็นการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนของสิ่งที่จะทำ
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์SWOT
3. การกำหนดแผนและกลยุทธ์ หลังจากการวิเคราะห์SWOTเสร็จสิ้นเราจำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์เพื่อกำจัดหรือลดผลกระทบจากปัจจัยทางด้านลบและใช้โอกาสจากปัจจัยทางด้านบวก
4. นำแผนและกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
5. ควบคุมและประเมินผล ในขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องมีตัวชี้วัด(Indicator)เพื่อเป็นตัวใช้วัดผลถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ถ้าพบว่ายังมีข้อบ่งพร่องของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ สามารถกลับไปที่ขั้นตอนที่2 เพื่อวิเคราะห์หาข้อบกพร่องหรือรายละเอียดที่ยังขาดหายไปและนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ต่อไป
ที่มา
http://www.tm.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/KM/Strategy_Plan_NPD.pdf